ฮุก่มของการล่าช้าในการละหมาดจนเลยเวลาและทำบ่อยครั้ง

·

คำถาม อะไรคือข้อตัดสินสำหรับผู้ที่ล่าช้าการละหมาดจนล่วงเลยเวลาของมัน ? และในขณะเดียวกันเขาก็มีพฤติกรรมเช่นนี้(ล่าช้าการละหมาด)อยู่บ่อยครั้ง ?

คำตอบ นี่คือความชั่วร้าย เป็นสิ่งต้องห้าม , และไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนี้ (ล่าช้าละหมาดจนหมดเวลา) , ทว่าจำเป็นที่จะต้องละหมาดตามขอบเขตเวลาของมัน นี่คือเรื่องจำเป็น ,

ดังที่อัลลอฮ์ ตะอาลา ได้ตรัสว่า : إِنَّ الصَّلاةَ كَانَتْ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ كِتَابًا مَوْقُوتًا[النساء:103]
“แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลาไว้แก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย” (อัลกุรอ่าน 4:103)

ดังนั้นการละหมาดได้ถูกกำหนดตามขอบเขตเวลาให้แก่บรรดาผู้ศรัทธา อันหมายถึง ถูกกำหนดเป็นฟัรดูจำเป็นตามขอบเขตเวลาของมัน (แก่ผู้ศรัทธา) , จึงจำเป็นสำหรับมุสลิมที่เขาจะต้องปฏิบัติละหมาดตามขอบเขตเวลาของมัน (ที่ถูกกำหนด) และไม่อนุญาตให้เขาล่าช้าการละหมาดให้ล่วงเลยเวลาของมันออกไป ไม่อนุญาตทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง แต่จำเป็นที่ทั้งคู่จะต้องปฏิบัติละหมาดตามเวลาของมัน โดยละหมาดซุฮรี่ก็จะต้องตามเวลาของมัน ละหมาดอัศรี่ก็ต้องตามเวลาของมัน ละหมาดมัฆริบก็ตาเวลาของมัน ละหมาดอีชาก็ตามเวลาของมัน และละหมาดซุบฮี่ก็จะต้องตามเวลาของมัน , ซึ่งไม่อนุญาตให้ให้คนใดล่าช้าละหมาดซุบฮี่ออกไปหลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้โผล่ขึ้นมาแล้ว และไม่อนุญาตให้ใครคนใดล่าช้าละหมาดมัฆริบออกไปจนกระทั่งแสงสีแดงที่ปลายขอบฟ้าได้หมดไป ไม่อนุญาตให้เขาล่าช้าละหมาดซุฮ์รี่จนล่วงเลยเข้าสู่เวลาอัศรี่ หรือล่าช้าละหมาดอัสรี่จนล่วงเลยเข้าสู่ช่วงที่แสงสีเหลืองจากดวงอาทิตย์ที่ขอบฟ้าหมดไป (หรือช่วงที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ซึ่งเป็นช่วงที่เข้าสู่เวลามัฆริบ) ทั้งหมดนี้ไม่อนุญาต (หากไม่ได้ตกอยู่ในสภาวะที่จำเป็นจริง ๆ เช่น เผลอนอนหลับจนล่วงเลยเวลา)
และสำหรับผู้ที่กระทำเยี่ยงที่กล่าวมา เขาจะต้องกลับเนื้อกลับตัวไปหาอัลลอฮ์ อีกทั้งมีนักวิชาการบางส่วนให้ทัศนะว่า : เขาคือผู้ที่ปฏิเสธศรัทธา (คือตกสู่สภาพเป็นกาเฟรสำหรับผู้ที่จงใจล่าช้าการละหมาดและกระทำเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง) เนื่องจากเขาได้นำเอาการละหมาดออกจากช่วงเวลาที่บทบัญญัติได้กำหนดไว้
โดยสรุปคือ : (การล่าช้าละหมาดออกจากเวลาของมัน) คือความชั่วร้ายอันใหญ่หลวงที่จำเป็นจะต้องระวัง , และสำหรับผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงเขาจะต้องขมักเขม้นในการประกอบการละหมาดตามขอบเขตเวลาของมัน นี่คือเรื่องที่จำเป็น.

แหล่งที่มา; เชค อับดุลอะซีซ อิบนุ บาซ – ร่อฮิม่าฮุ้ลลอฮ์ – ฟะตาวา นูร อะลัดดัรบ์ (คำถามที่ 13564)