คำถาม ถือศีลอดอย่างไรความผิดถึงได้รับการอภัย?
คำตอบ จากท่านอบูฮุรอยเราะห์รอฎิยัลลอฮุอันฮุกล่าวว่า:
ท่านรอซูลุลลอฮิซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า:
“ผู้ใดถือศีลอดในเดือนรอมาฎอนด้วยการศรัทธาและหวังผลบุญความผิดของเขาที่ผ่านมาจะได้รับการอภัยโทษ”
[บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีและมุสลิม]
ท่านอิหม่ามฮาฟิซ อิบนุหะยัรอัลอัสก้อลานี ได้กล่าวในหนังสือฟัตฮุลบารี ว่า :
เป้าหมายคำว่า “อีมาน”คือการเชื่อมั่นว่าการถือศีลอดเป็นเรื่องฟัรฎู(จำเป็น)
“อิห์ติซาบ”คือการหวังผลบุญจากอัลลอฮ์ตะอาลา
เชคมุฮัมมัด ซอลิฮ์ อัลอุซัยมีน รอฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า:
ความหมายคำว่า : «إيماناً واحتساباً» “อีมานัน วะห์ติซาบัน”
คือศรัทธาต่ออัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่ง
และเชื่อมั่นต่อคำบอกกล่าวของพระองค์ “วะห์ติซาบัน” คือหวังรางวัลและผลบุญตอบแทนจากการถือศีลอดเดือนรอมาฎอน
ส่วนคำกล่าวของท่านนบีซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า:
«غفر له ما تقدم من ذنبه»
“บาปของเขาที่ผ่านมาจะได้รับการอภัยโทษ”
เป้าหมายคือบาปเล็กๆที่ผ่านมาไม่ใช่บาปใหญ่
และความเห็นของนักปราชญ์ส่วนมากในหะดีษแบบนี้มีฮุก่มเดียวกันกับคำพูดของท่านรอซูลุลลอฮิซอลลัลลอฮุอะลัยฮวะซัลลัมว่า:
«الصلوات الخمس، والجمعة إلى الجمعة، ورمضان إلى رمضان، مكفرات لما بينهن ما اجتنبت الكبائر»
((การดำรงละหมาดห้าเวลา การทำละหมาดวันศุกร์ถึงอีกวันศุกร์ การถือศีลอดเดือนรอมาฎอนถึงอีกเดือนรอมาฎอนจะลบล้างบาปได้ ตราบใดที่เขาห่างไกลจากบาปใหญ่))
จากจุดนี้ในหะดีษจึงไม่ได้เป็นหลักฐานว่าหมายถึงอภัยโทษในบาปใหญ่ แต่ก็มีปราชญ์บางท่านถือเอาความหมายแบบครอบคลุม โดยกล่าวว่า:บาปทุกชนิดจะถูกอภัยโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่เป็นบาปที่นำสู่การกุฟร์ หากเป็นบาปที่ถึงขั้นเป็นกุฟร์ จำเป็นต้องเตาบะห์และกลับสู่อิสลาม
แหล่งที่มา; เชคมุฮัมมัด ซอลิฮ์ อัลอุซัยมีน รอฮิมะฮุลลอฮ์
https://binothaimeen.net/content/8352