หากมาทันละหมาดแค่หนึ่งร็อกอะฮ์ ต้องอ่านเสียงดังหรือไม่ เมื่อต้องละหมาดต่อให้ครบ(การละหมาดที่อ่านเสียงดัง)

·

คำถาม ชายคนหนึ่งเข้ามาทันร็อกอะฮ์พร้อมกับอีหม่าม เขาจะต้องอ่านเสียงดังในการละหมาดต่อให้ครบหรือไม่ ? (การละหมาดที่อ่านเสียงดัง)[1]

[1] การละหมาดที่อ่านเสียงดัง คือละหมาดซุบฮิ มักริบ และอิชาอ์

คำตอบ เชคอับดุลอะซีซ อิบนุบาซ ร่อฮิม่าฮุ้ลลอฮ์ ได้ตอบว่า :
หากว่าเป็นการละหมาดที่เป็นการอ่านเสียงดัง และเขามาทัน แม้ว่าจะทันแค่หนึ่งร็อกอะฮ์ก็ตาม โดยให้นับว่านี่คือร็อกอะฮ์แรกของเขา และเมื่อเขายืนขึ้นเพื่อจะชดใช้ ก็ให้เขาอ่านเสียงดัง โดยไม่รบกวนคนรอบข้างในร็อกอะฮ์ที่สอง และอ่านแบบไม่มีเสียงในร็อกอะฮ์ที่สาม และร็อกอะฮ์ที่สี่ เพราะละหมาดที่เขาทันอิหม่ามนั้นนับเป็นร็อกอะฮ์แรก และนี่ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ส่วนร็อกอะฮ์ที่เขาชดใช้ๆก็ให้นับเป็นร็อกอะฮ์ถัดๆไป ดังนั้นจึงให้เขาอ่านเสียงดังในร็อกอะฮ์ที่สองที่เขาลุกขึ้นมาละหมาดใช้จากละหมาดอีชา หรือละหมาดมักริบ เป็นต้น หลังจากนั้นก็ให้เขาละหมาดต่อในร็อกอะฮ์ที่เหลือจนเสร็จโดยให้อ่านเสียงเบา

แหล่งที่มา; เว็บไซต์ของเชคอับดุลอะซีซ อิบนุบาซ ร่อฮิม่าฮุ้ลลอฮ์
https://binbaz.org.sa/fatwas/1224/كيفية-قضاء-من-ادرك-ركعة-في-الصلاة-الجهرية