คำถาม พ่อแต่งงานให้ลูกสาว และตั้งเงื่อนไขกับสามีของลูกสาวว่า หากเขาหย่านาง เขาจะต้องจ่ายเงินจำนวนเจ็ดหมื่นริยาล นอกเหนือจากค่าสินสอดที่มอบให้ตอนแต่ง อะไรคือหุก่มของการตั้งเงื่อนไขในลักษณะดังกล่าว ใช้ได้หรือไม่?
คำตอบ การตั้งเงื่อนไขของฝ่ายหญิง หรือผู้เป็นวะลีย์(ผู้ปกครองฝ่ายหญิง) ในขณะทำสัญญาการแต่งงาน เป็นเงินจำนวนหนึ่ง ที่ฝ่ายชายจะต้องจ่ายให้เมื่อเกิดการหย่าร้าง ถือเป็นการตั้งเงื่อนไขที่ใช้ได้ เพราะนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินสอดที่ตกลงกันว่าจะจ่ายให้ล่าช้า
ดังนั้นหากทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันตามข้อตกลงนั้น ก็จำเป็นที่จะต้องรักษาสัญญาหากเกิดเหตการณ์ตามนั้น นั่นก็คือการหย่าร้าง ซึ่งมีหลักฐานยืนยันเรื่องดังกล่าวจากหะดีษของท่านอุกบะฮ์ บิน อามิร ร่อฎิยั้ลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า (เงื่อนไขที่สมควรที่จะต้องรักษามากที่สุด คือเรื่องที่พวกท่านทำให้อวัยวะเพศเป็นที่หะล้าล) บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ ในหนังสือ(ศ่อเฮี๊ยะฮ์)ของท่าน และหะดีษที่พูดไว้กว้างๆว่า (บรรดาผู้ศรัทธาจะทำตามเงื่อนไขที่พวกเขาได้ตั้งกันเอาไว้) และท่านติรมิซีย์ได้เพิ่มในสายรายงานของท่านว่า (ยกเว้นเงื่อนไขที่ทำให้สิ่งที่หะล้าลกลายเป็นหะรอม หรือทำให้สิ่งที่หะรอมกลายเป็นหะล้าล)
แหล่งที่มา; คำถามที่ 3 จากฟัตวาเลขที่ (19612) จากฟะตาวาของคณะกรรมการถาวร