เวลาของการละหมาดอิชาอ์และการล่าช้าในการละหมาดอิชาอ์

·

คำถาม : ฮุก่ม(ข้อตัดสิน)ของการล่าช้าในการละหมาดอีชาอ์คืออะไร

คำตอบ : เวลาที่วาญิบ(จำเป็น)สำหรับละหมาดอิชาอ์ คือก่อนครึ่งหนึ่งของเวลากลางคืน(ทั้งหมด) และไม่อนุญาตให้ล่าช้าไปกว่านั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซั้ลลัม กล่าวว่า : “เวลาละหมาดอีชาอ์นั้นยาวไปจนถึงครึ่งหนึ่งของเวลากลางคืน” ดังนั้นท่านจะต้องละหมาดก่อนถึงครึ่งคืน ตามเวลาโคจรหมุนเวียนของดาราศาสตร์ ซึ่งเวลากลางคืนนั้นมีเพิ่มมีลด โดยให้นับครึ่งหนึ่งจากชั่วโมงเวลากลางคืนทั้งหมดเป็นเกณฑ์ หาก(คืนนั้น)มีเวลากลางคืนสิบชั่วโมง ก็จะไม่อนุญาตให้ละหมาดล่าช้าไปกว่าห้าชั่วโมงแรก(ของเวลากลางคืน) และถ้าหากว่าเวลากลางคืนมีสิบเอ็ดชั่วโมง ก็ไม่อนุญาตให้ล่าช้าไปกว่าห้าชั่วโมงครึ่งแรก 
และที่ประเสริฐที่สุด(ของเวลาละหมาดอิชาอ์ทั้งหมด)ก็คือช่วงหนึ่งส่วนสามแรกของเวลากลางคืน หากทำการละหมาดล่าช้าไปกว่าต้นเวลานิดหน่อย(ที่ไม่เกินหนึ่งส่วนสามแรก)ก็จะถือว่าประเสริฐที่สุด เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซั้ลลัม ชอบที่จะละหมาดอิชาอ์ล่าช้าไปกว่าตอนต้นเวลาเล็กน้อย ดังนั้นถ้าใครจะละหมาดตั้งแต่ต้นเวลาหลังจากแสงสีแดง ณ ขอบฟ้าทางทิศตะวันตกลับหายไปทันที ก็สามารถทำได้ แต่การล่าช้าไปกว่าตอนต้นเวลาเล็กน้อยที่ทำกันตามมัสญิด หรือใดก็ตาม ก็จะถือว่าประเสริฐที่สุด

แหล่งที่มา; แหล่งที่มา; เว็บไซต์ของท่านเชคอับดุลอะซีซ อิบนุบาซ เราะฮิม่าฮุ้ลลอฮ์
https://binbaz.org.sa/fatwas/7997/ما-حكم-تاخير-صلاة-العشاء