การละหมาดญะนาซะฮ์ให้กับทารกในครรภ์ที่แท้ง

·

คำถาม : ข้อตัดสิน(ฮุก่ม) การละหมาดญะนาซะฮ์ให้กับทารกในครรภ์ที่แท้งคืออะไร ? 


คำตอบ : เชคอับดุลอะซีซ อิบนุบาซ เราะฮิม่าฮุ้ลลอฮ์ ตอบว่า
ทารกในครรภ์มีข้อแตกต่างกัน หากทารกมีอายุเกินสี่เดือน และถูกเป่าวิญญาณเข้าไปแล้ว แล้วเกิดแท้งออกมา กรณีนี้ให้อาบน้ำ และละหมาดให้เ รวมถึงตั้งชื่อให้และทำอะกีเกาะฮ์ให้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และเป็นสิ่งที่บรรดาผู้รู้ได้ระบุไว้ 
ส่วนถ้าทารกแท้งออกมาก่อนสี่เดือนนั้น กรณีนี้ไม่ต้องอาบน้ำให้ ไม่ต้องละหมาดให้ เพราะจะยังไม่นับเป็นทารกจนกว่าจะถูกทำให้มีรูปร่าง และถูกเป่าวิญญาณเข้าไป หากมีการแท้งออกมาเป็นก้อนเนื้อ หรือก้อนเลือด กรณีนี้ไม่ต้องอาบน้ำให้ ไม่ต้องละหมาดให้ แต่ที่จะต้องอาบน้ำให้ ละหมาดให้ ตั้งชื่อให้เมื่อแท้งออกมาหลังจากสี่เดือน เพราะได้มีการเป่าวิญญานเข้าไปในตัวแล้ว 

แหล่งที่มา; เว็บไซต์ของท่านเชค อัลดุลอะซีซ บิน บาซ – ร่อฮิม่าฮุ้ลลอฮ์ – https://binbaz.org.sa/fatwas/4556/ما-حكم-الصلاة-على-الجنين-السقط