การวิพากษ์วิจารณ์ตัวบุคคลและการชี้ให้เห็นถึงความผิดของผู้เผยแพร่บางคนถือว่าเป็นฟิตนะฮ์ (การก่อให้เกิดความวุ่นวาย) ควรจะต้องระงับไว้หรือไม่ ? 

·

คำถาม แนวทางอะฮ์ลุซซุนนะฮ์ในการวิพากษ์วิจารตัวบุคคล และการกล่างถึงชื่อของบุคคล และการชี้ให้เห็นถึงความผิดของผู้เผยแพร่บางคนถือว่าเป็นฟิตนะฮ์ (การก่อให้เกิดความวุ่นวาย) ควรจะต้องระงับไว้หรือไม่ ? 

คำตอบ ความผิดพลาดนั้นต้องถูกชี้แจง จำเป็นที่จะต้องชี้แจงความผิดออกจากความถูกต้อง ส่วนบุคคลนั้น การพูดถึงตัวบุคคลไม่มีประโยชน์ แถมยังอาจก่อให้เกิดโทษอีกด้วย เราไม่ได้มุ่งโจมตีตัวบุคคล แต่เราชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดและชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้คนยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง และละทิ้งสิ่งที่ผิด จุดประสงค์ของเรื่องนี้ไม่ใช่เพื่อโจมตีบุคคลหรือล้างแค้นพวกเขา เพราะหากมีเจตนาเพื่อระบายอารมณ์หรือแก้แค้น นั่นคือผู้ที่ทำตามอารมณ์ของตนเอง แต่หากเจตนาเพื่อแสดงความจริงแก่ผู้คน นั่นคือผู้ที่หวังดีต่อพี่น้องมุสลิม   

แต่หากจำเป็นต้องเอ่ยชื่อบุคคลที่ถูกโต้แย้งเพื่อให้ผู้คนรู้จัก นั่นก็เพื่อผลประโยชน์ที่มีน้ำหนักกว่า นักวิชาการด้านหะดีษ มักจะระบุชื่อผู้รายงานที่ไม่น่าเชื่อถือ โดยกล่าวว่า “บุคคลนั้นและบุคคลนี้เป็นคนโกหก” “คนนี้มีความจำไม่ดี” “คนนี้เป็นผู้บิดเบือนสายรายงาน” ซึ่งพวกเขาจะอธิบายและระบุชื่อบุคคลเหล่านั้น โดยจุดประสงค์ของพวกเขาไม่ใช่เพื่อทำลายบุคคลคนนั้น แต่เพื่อแสดงความจริง และเพื่อให้คนทั่วไปรู้ว่า รายงานของบุคคลนี้มีจุดผิด เพื่อที่พวกเขาจะได้หลีกเลี่ยงและระมัดระวัง

ดังนั้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเจตนา หากเจตนาเป็นไปเพื่อโจมตีบุคคล นั่นคือการทำตามอารมณ์และไม่เป็นที่อนุญาต แต่หากเจตนาเพื่อแสดงความจริงและให้คำแนะนำที่ดีแก่ผู้คน ก็ไม่มีปัญหา อัลฮัมดุลิ้ลลาฮ์

แหล่งที่มา; คำถามที่ 56 : หนังสือ “อัลอัญวิบะตุ้ลมุฟีดะฮ์ อันอัซอิละติ้ลมะนาฮิญิ้ลญะดีดะฮ์” ของเชคซอและฮ์ อัลเฟาซาน ฮะฟิเซาะฮุ้ลลอฮ์ หน้าที่ 146-147