แท้งบุตรในช่วงถือศีลอดเดือนรอมฎอน

·

คำถาม มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในเดือนรอมฎอน ที่เธอแท้งบุตรในช่วงกลางวัน และเธอถือศีลอดจนกระทั่งครบวัน จากนั้นหลังละศีลอดเธอไปโรงพยาบาลและเข้ารับการผ่าตัดล้างมดลูก วันนั้นเธอไม่ได้ถือศีลอด คำถามคือ การถือศีลอดของเธอในวันดังกล่าวถือว่าใช้ได้หรือไม่? หลังจากออกจากโรงพยาบาล เธอควรรอจนกว่าจะสะอาดก่อนหรือเริ่มถือศีลอดได้เลย? ถ้าต้องรอ จะต้องรอนานเท่าใด? และเธอต้องชดใช้การถือศีลอดอย่างเดียวหรือว่าต้องชดใช้พร้อมกับการเลี้ยงอาหารคนยากจน?

คำตอบ หากตัวอ่อนที่เธอแท้งออกมามีรูปร่างของมนุษย์ เช่น มีมือหรือเท้าเป็นต้น เธอจะต้องงดละหมาดและการถือศีลอดในช่วงระยะเวลานิฟาส (หลังคลอด) จนกว่าจะสะอาดหรือครบ 40 วัน จากนั้นเธอต้องอาบน้ำ  แล้วจึงเริ่มละหมาดและถือศีลอด รวมถึงชดใช้วันที่เธอแท้งบุตรและวันอื่น ๆ ที่เธอไม่ได้ถือศีลอด โดยไม่ต้องเลี้ยงอาหารคนยากจนหากเธอชดใช้การถือศีลอดก่อนเดือนรอมฎอนถัดไป และหากเธอสะอาดก่อนครบ 40 วัน เธอสามารถอาบน้ำ ละหมาด และถือศีลอดได้ทันที เพราะไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางอีกแล้ว

แหล่งที่มา; ฟะตาวา ลัจนะฮ์อัดดาอิมะฮ์ คำถามที่ 2 จากฟัตวาหมายเลข 10653 เล่มที่ 10  หน้าที่ 224