คำถาม ซะกาตสำหรับการกู้เป็นที่จำเป็นต่อผู้ให้กู้หรือผู้ที่กู้หรือไม่ ?
คำตอบ เชคอับดุลอะซีซ อิบนุบาซ เราะฮิม่าฮุ้ลลอฮ์ ตอบว่าหากท่านให้กู้เงิน และผู้ที่กู้เป็นคนที่มีเงิน ดังนั้นซะกาตก็จำเป็นสำหรับท่าน แต่ถ้าหากให้คนที่ลำบากกู้ ซะกาตก็ไม่จำเป็นสำหรับท่าน เพราะการกู้นั้นมีความแตกต่าง หากท่านให้คนกู้เงินไม่ว่าจะหนึ่งแสน สองแสน มากกว่านี้หรือน้อยกว่า และเขาเป็นคนที่มีเงินที่เมื่อไหร่ที่ท่านทวงเขา เขาก็สามารถให้ท่านได้เลย โดยไม่ล่าช้า ถ้าแบบนี้ซะกาตจากเงินกู้นั้นเป็นหน้าที่ของท่าน (ผู้ให้กู้) และผู้กู้ก็ต้องจ่ายซะกาตสำหรับเงินที่เขามี หากเขายังมีเงินนั้นอยู่กับตัวเขา เขาก็ต้องจ่ายซะกาต
แต่หากว่าเงินได้ใช้ออกไปแล้ว ได้ใช้จ่ายไปในทิศทางอื่น เขาไม่ต้องจ่ายซะกาต ส่วนท่านที่ให้กู้ต้องจ่ายซะกาตสำหรับเงินที่คุณให้กู้ไป เพราะเงินนั้นยังคงเป็นทรัพย์สินของคุณ ซึ่งอยู่กับผู้กู้ที่ร่ำรวยและพร้อมจะจ่ายคืน ดังนั้นคุณต้องจ่ายซะกาต แต่ถ้าเงินนั้นอยู่กับผู้กู้ที่ยากจนหรือล่าช้าไม่คืน คุณไม่ต้องจ่ายซะกาต
คำถาม แบบนี้จะกลายเป็นว่าเป็นซะกาตจากทั้งสอง หมายถึงทั้งจากผู้ให้กู้และผู้กู้ ?
ทั้งสองนี้เป็นทรัพย์สินคนละส่วนกัน ไม่ใช่ทรัพสินเดียวกัน นั้นก็คือ ทรัพย์สินที่อยู่กับคนกู้ที่ร่ำรวย เขาก็ต้องจ่ายซะกาต และดังกล่าวก็คือ หากทรัพย์สินอยู่กับเขา และเขาครอบครองอยู่ เขาจะต้องจ่ายซะกาต แต่หากว่าเขาใช้จ่ายไปแล้ว แบบนี้ซะกาตไม่จำเป็นต่อเขา
แหล่งที่มา; เว็บไซต์ของเชค อับดุลอะซีซ อิบนุ บาซ – ร่อฮิม่าฮุ้ลลอฮ์ –
https://binbaz.org.sa/fatwas/3068/%D9%87%D9%84-%D8%B2%D9%83%D8%A7%D8%A9-%D8%A7%D9%84%D9%82%D8%B1%D8%B6-%D8%B9%D9%84%D9%89-%D8%A7%D9%84%D9%85%D9%82%D8%B1%D8%B6-%D8%A7%D9%85-%D8%A7%D9%84%D9%85%D9%82%D8%AA%D8%B1%D8%B6