อนุญาตให้จ่ายซะกาตให้แก่เครือญาติที่ใกล้ชิดได้หรือไม่ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะมีสิทธิ์ได้รับมรดกก็ตาม

·

คำถาม ได้มีระบุไว้ในหนังสือเราะเดาะฮ์ ว่า อนุญาตให้จ่ายซะกาตให้แก่เครือญาติที่ใกล้ชิดได้ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะมีสิทธิ์ได้รับมรดกก็ตาม หากว่าไม่มีภาระผูกพันต้องเลี้ยงดู (ให้นะฟ่าเกาะฮ์แก่พวกเขา)  ?

คำตอบ เชค อับดุลอะซีซ อิบนุบาซ เราะฮิมะฮุ้ลเลาะฮ์ ตอบว่า
ดังกล่าวนี้คือทัศนะที่เลื่องลือ , หากว่าการให้ค่าเลี้ยงดู (นะฟ่าเกาะฮ์) แก่พวกเขา(เครือญาติเหล่านั้น) มันมิได้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเขา (ผู้ให้ซะกาต)  เช่นนี้เขาก็สามารถจ่ายซะกาตให้พวกเขาเหล่านั้นได้ แต่ถ้าเขาเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับมรดกจากพวกเขาเหล่านั้น เขาไม่ควรจ่ายซะกาตให้พวกเขา แต่ควรจ่ายให้กับผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับมรดก คำกล่าวนี้ยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณา
ที่ถูกต้องก็คือ : ไม่มีปัญหาที่จะให้ซะกาตแก่เครือญาติที่เป็นคนจนทั้งหมด ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นผู้ที่ได้รับมรดกหลังจากที่พวกเขาเสียชีวิตก็ตาม  , ที่ถูกต้องแล้ว : ฮุก่มของซะกาตไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของมรดก แต่ว่าเกี่ยวกับเรื่องของความยากจนและความต้องการ หากว่าญาติเหล่านั้นเป็นผู้มีความต้องการ เขาก็สามารถให้ซะกาตได้ และถือเป็นการให้ทานซอดาเกาะฮ์ และเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างกัน นอกเสียจากในกรณีที่เขาเป็นพ่อ แม่ และลูก คือเป็นเชื้อสายย่อย(ลูก หลาน)และเชื้อสายหลัก (พ่อ แม่ ปู่ ย่า)

ท่านอิบนุมุนซิร ได้รายงานถึงมติเอกฉันท์ว่าไม่อนุญาตให้จ่ายซะกาตแก่บิดามารดาและลูกหลาน , ฉะนั้นแล้วผู้เป็นบิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย บรรดาลูก ๆ และบรรดาลูกหลานของลูกชายและลูกสาว บุคคลเหล่านี้ไม่สามารถรับซะกาตได้ เนื่องจากเป็นหน้าที่ของญาติสนิทที่ต้องดูแลและเลี้ยงดูพวกเขาตามความสามารถของพวกเขา , ส่วนพี่น้องชายหญิง ลุง ป้า น้า อา และลูกหลานของพวกเขา สามารถรับซะกาตได้โดยไม่มีข้อจำกัดตามทัศนะที่ถูกต้องที่สุด หากพวกเขาอยู่ในสภาพที่ยากจนและขัดสน 

แหล่งที่มา; เว็บไซต์ของเชค อับดุลอะซีซ อิบนุ บาซ – ร่อฮิม่าฮุ้ลลอฮ์ –
https://binbaz.org.sa/fatwas/1022/%D9%85%D8%B4%D8%B1%D9%88%D8%B9%D9%8A%D8%A9-%D8%AF%D9%81%D8%B9-%D8%A7%D9%84%D8%B2%D9%83%D8%A7%D8%A9-%D9%84%D9%84%D8%A7%D9%82%D8%A7%D8%B1%D8%A8