เงื่อนไขของการฟัตวา(ออกคำตัดสินปัญหาทางศาสนา)

·

การออกคำฟัตวานั้นจะเป็นที่อนุญาต ต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ออกคำฟัตวาจะต้องเป็นผู้ที่รู้ฮุก่ม(ของเรื่องที่จะฟัตวานั้น)อย่างมั่นใจแน่นอน หรือมีน้ำหนักไปทางรู้มากกว่าไม่รู้ ถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้นจำเป็นที่เขาจะต้องหยุด(การฟัตวานั้นๆจนกว่าจะรู้ฮุก่ม)
  2. ผู้ออกคำฟัตวาจะต้องเข้าใจรายละเอียดของคำถามนั้นอย่างกระจ่างชัด เพื่อที่จะสามารออกฮุก่มให้กับคำถามนั้นได้ เพราะการที่จะตัดสินสิ่งใดนั้นเป็นผลพวงมาจากการเข้าใจถึงละเอียดของสิ่งๆนั้น หากเกิดข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้ขอคำฟัตวาต้องการจะสื่อก็ให้ถามเขา และถ้าหากคำถามนั้นต้องการรายละเอียด ก็ให้ขอคำอธิบายรายละเอียดนั้นด้วย หรือแจกแจงรายละเอียดในคำตอบ (ยกตัวอย่างเช่น) เมื่อถูกถามถึงบุคคลที่เสียชีวิตแล้วทิ้ง(มรดกไว้ให้แก่)ลูกสาว พี่(น้อง)ชาย และลุงแท้ๆ ก็จงถามให้ละเอียดว่าพี่(น้อง)ชายคนนั้นเป็นพี่น้องร่วมแม่หรือไม่(หรือเป็นพี่น้องแท้ๆ หรือเป็นพี่น้องร่วมพ่อ) หรือให้แจกแจงรายละเอียดทั้งหมดไว้ในคำตอบ เพราะถ้าหากเป็นพี่น้องร่วมแม่เขาจะไม่มีสิทธ์ในกองมรดก และทรัพย์ที่เหลือหลังจากแบ่งให้ลูกสาวแล้วจะตกเป็นของลุง แต่ถ้าหากเป็นอย่างอื่น(เป็นพี่น้องแท้ๆหรือร่วมพ่อ)เขาจะได้รับทรัพย์ที่เหลือหลังจากแบ่งให้ลูกสาวแล้ว ส่วนลุงจะไม่ได้อะไรเลย(เป็นต้น)
  3. ผู้ฟัตวานั้นจะต้องอยู่ในสภาพที่มีความสงบทางอารมณ์ เพื่อที่เขาจะสามารถมองภาพรวมของประเด็นคำถามนั้นออก และนำมาผนวกเข้ากับหลักฐานทางบทบัญญัติ(ได้อย่างถูกต้อง) ดังนั้นไม่อนุญาตให้ออกคำฟัตวาในสภาพที่เขามีความโกรธ ความกังวล ความเบื่อหน่าย หรืออื่นๆในทำนองเดียวกันนี้

แหล่งที่มา; หนังสือ  อัลอุซู้ลมินอิลมิลอุซู้ล ของเชคมุฮัมมัด บินซอและฮ์ อัลอุซัยมีน หน้า 83