ความหมายคำว่า “ครอบครอง(สินค้า)ตามบัญญัติ [อัลกอบฎุอัลชัรอีย์]”

·

คำถาม  หากผู้หนึ่งซื้ออาหารจากผู้หนึ่ง ที่มิใช่การซื้อขายสด อนุญาตให้เขาขายต่อได้หรือไม่ก่อนที่เขาจะครอบครองสิ่งนั้น อะไรคือความหมายคำว่า “ครอบครอง” ตามที่มีตัวบทฮะดีษห้ามไว้ และหากเขาซื้อสินค้าไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือไม่ โดยนับจำนวนครบ(ตามที่ต้องการ) เรียบร้อยแล้ว แต่ของยังอยู่ที่ร้านผู้ขาย สิ่งนี้ถือว่าเป็นการ “ครอบครอง” ตามหลักการหรือไม่ มีนักศึกษาบางคนตอบว่าใช่ เขามีหลักฐานหรือไม่อย่างไร (ที่ตอบเช่นนั้น) และคนส่วนใหญ่ก็ทำกันเช่นนี้ทั้งนั้น บางทีสิ้นค้าตัวนั้นก็ถูกขายไปหลายทอด โดยที่สินค้านั้นยังอยู่ที่ผู้ขายแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นนำตาลและข้าว โปรดกรุณาตอบ (ข้อข้องใจ) และอธิบายให้กระจ่าง ด้วยครับ และขออัลลอฮ์ตอบแทนผลบุญให้แก่ท่านด้วยเทอญ (1)

คำตอบ เมื่อคนหนึ่งซื้ออาหารหรือสินค้าจากคนหนึ่ง จะซื้อสดหรือผ่อนก็แล้วแต่ ไม่อนุญาตให้นำไปขายจนกว่าจะได้ครอบครอบสิ่งนั้นเสียก่อน โดยการนำกลับไปบ้านหรือนำกลับไปร้านของเขาหรือที่ไหนก็ได้ การครอบครอบไม่ใช่เพียงนับให้ครบตามจำนวนแต่สิ่งที่ซื้อยังคงอยู่ที่เดิม

หลักฐานในเรื่องนี้คือ สิ่งที่ปรากฏในบันทึกของอัศศ่อฮีฮัยนี่ จากท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม “ท่านนบี ห้ามการซื้อขายอาหารจนกว่าจะได้มาอย่างครบถ้วนเสียก่อน” (2)
สำนวนอีกริวายะห์หนึ่ง คือ “จนกว่าจะจับมันไว้(ครอบครอง)”(3)
ฮะดีษของท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา “เราซื้อขายอาหารกันลักษณะเหมากอง ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ส่งคนมาใช้ให้เราเคลื่อนย้ายสิ่งที่ซื้อขายกัน ให้พ้นที่ๆ ซื้อ ให้ขนไปที่อื่นก่อนเราจะขายมัน”(4)
ฮะดีษของท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ที่ปรากฏในบันทึกของอัศศ่อฮีฮัยนี่ ว่า “คนทั้งหลายซื้อขายอาหารกันแบบเหมากอง ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงห้ามพวกเขาทำเช่นนั้น จนกว่าจะขนย้ายมัน (อาหาร) นั้นเสียก่อน”(5)
มีฮะดีษของท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ที่ปรากฏในบันทึกของอัศศ่อฮีฮัยนี่ อีกว่า “ฉันเห็นผู้คนในยุค ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซื้อขายกันลักษณะเหมากอง –คือซื้ออาหาร- พวกเขาถูกเฆี่ยนตี (ถูกลงโทษที่ไม่ทำตามคำสั่ง และซื้อขายกันโดยสินค้ายังมิได้ถูกย้ายไปไหน) จนกว่าจะเคลื่อนย้ายมัน (อาหารที่ซื้อนั้น) ไปที่พักเสียก่อน”(6)
มีฮะดีษของท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ที่ปรากฏในบันทึกของอะบูดาวูด, ดารุกุฏนีย์, อัลมุสตัดร๊อก,และศ่อเฮี๊ยห์ อิบนุ ฮิบบาน ว่าท่านกล่าวว่า ” ฉันซื้อนำมันพีชจากตลาด และเมื่อซื้อขายแล้วก็มีชายผู้หนึ่งมาพบเข้าและให้ราคาดีมีกำไร ฉันจึงจะตกลงขายให้เขา แต่มีชายอีกคนหนึ่งด้านหลังฉันคว้าศอกฉันไว้ ฉันจึงหันไปดูปรากฏว่าเป็นท่านซัยดฺ อิบนุ ษาบิต เขากล่าวแก่ฉันว่า ท่านอย่าขายมัน(สิ่งของ)คาที่ซื้อ จนกว่าท่านจะนำมันกลับไปที่พักเสียก่อน เพราะท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ห้ามขายสินค้าคาที่ซื้อ จนกว่าพ่อค้าจะนำมัน (สินค้า) ไปยังที่พักของพวกเขาเสียก่อน” (7)
[ท่านเชคบินบาซได้วิเคราะห์สายรายงานฮะดีษนี้ไว้ค่อนข้างยาว ผู้แปลขอเว้นจะไม่แปลเพราะเกรงจะยืดยาว แต่บทสรุปสุดท้ายคือเป็นรายงานที่ฮะซันเป็นอย่างน้อย และสามารถนำมาอ้างอิงได้]
ดังนั้นสินค้าใด ไม่อนุญาตให้นำไปขายจนกว่าจะมีไว้ในครอบครองเสียก่อน อีกรายงานหนึ่งที่มีลักษณะความหมายไกล้เคียงกันคือ รายงานของท่านฮะกีม อิบนุ ฮิซาม จากบันทึกของอัลบัยฮะกีย์ ด้วยสายรายงานที่ดีเยี่ยม ว่า ท่านได้กล่าวแก่ท่าน ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า “โอ้ท่านร่อซูลัลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ฉันซื้อสินค้าเหล่านี้ มีอะไรที่เป็นฮะล้าลหรือเป็นฮะรอมบ้าง” (วิธีการซื้อขาย) ท่านร่อซู้ลจึงกล่าวว่า “โอ้หลาน (รัก) เจ้าอย่าได้ขายอะไร จนกว่าเจ้าจะได้ครอบครองมันเสียก่อน” (8)

หุก่มนี้ เป็นหุก่มรวมไม่จำกัดว่าสินค้านั้นจะเป็นอาหารหรือไม่ โดยมีฮะดีษของอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา บันทึกโดย “อัลบุคอรีและมุสลิม” ยืนยันดังนี้ ว่าท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดซื้ออาหารมา เขาก็จงอย่านำไปขาย (ต่อ) จนกว่าจะได้อาหารนั้นมาครบถ้วยเสียก่อน” (9)
ท่านอิบนุ อับบาส กล่าวว่า ” ฉันเห็นว่าทุกอย่างก็เหมือนอาหาร” (คือมีหุก่มเดียวกัน ถ้ายังมิได้รับมอบมาอย่างครบถ้วน ก็อย่านำไปขายต่อ)
ท่านค๊อฏฏอบีย์ ได้อ้างไว้ในหนังสือ “มะอาลิมุซซุนัน” และท่านอิบนุลมุนซิร-ตามที่อิบนุก็อยยิม-อ้างถึงไว้ในหนังสือ “ตะฮ์ซีบุซซุนัน” ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ คือไม่อนุญาตให้นำอาหารไปขายต่อ ตราบใดที่ยังมิได้จับต้องครอบครอง
ส่วนสิ่งอื่นที่มิใช่อาหาร ทั้งท่านค๊อฏฏอบีย์ และอิบนุกอยยิม กล่าวว่า นักวิชาการเห็นแตกต่างกันเป็นสี่ทัศนะ

ท่านอิบนุกอยยิม สนับสนุนและรับรองทัศนะที่ว่า หุก่มห้ามนี้ครอบคลุมอาหารและสิ่งอื่นๆ ด้วย เพราะฮะดีษของท่านฮะกีม อิบนุ ฮิซาม และฮะดีษของท่านซัยดฺ อิบนุ ษาบิต (ที่กล่าวแล้ว) ท่านอิบนุกอยยิมกล่าวว่า ” เหตุผลของการห้ามนั้นคือ ไม่ได้ครอบครองอย่างสมบูรณ์ ผู้ขายก็ยังมิได้ขาดจากสินค้านั้น เขาอาจจะต้องการจะยกเลิกหรือต้องการจะไม่มอบสินค้า เมื่อเห็นว่าผู้ซื้อจะได้กำไรงาม ซึ่งกำไรนั้นน่าจะเป็นของเขา ของก็ยังเป็นภาระอยู่ที่เขา หรือไม่แน่ว่าอาจเป็นเหลี่ยมคูทางการค้าที่อธรรม (เมื่อผู้ซื้อรีบขายต่อให้ผู้อื่น ผู้ขายคนแรกก็หมดสิทธิ์) ยกเลิกการซื้อขายนั้น (สิทธิ์นี้ นักวิชาการเรียกว่า “คิยารุลมัจลิซ” คือผู้ซื้อผู้ขายหากยังไม่แยกจากกัน จะกินเวลานานเท่าใด ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์เปลี่ยนใจยกเลิกการซื้อขายนั้น ตามที่มีฮะดีษระบุไว้ชัดเจนทั้งในบันทึกของอัลบุคอรีและมุสลิม ) ซึ่งเป็นการสร้างความขัดแย้งและเป็นศรัตรูกัน สภาพตามจริงที่เป็นอยู่ ยืนยัน(ข้อเท็จจริงนี้)
เป็นความดียิ่งส่วนหนึ่งของบทบัญญัติอันสมบูรณ์และละเอียดลึกซึ้ง คือ ห้ามมิให้ผู้ซื้อดำเนินการใดต่อสินค้านั้น จนกว่าจะได้ครอบครองโดยสมบูรณ์…..

สำหรับข้ออ้างของผู้ที่แยกระหว่างอาหารและสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร คือตัวบทส่วนใหญ่ระบุชัดว่าคืออาหาร ถึงกระนั้นก็ตามก็ไม่ได้หมายความว่า “หุก่ม” จะจำกัดเฉพาะอาหาร เพราะหุก่มครอบคลุมทั้งหมดภายใต้กฏที่ทราบดีคือ “การยืนยันหุก่มกว้างที่ใช้ต่อส่วนที่เป็นข้อปลีกย่อยหนึ่งใด มิใช่เป็นการจำกัดว่าหุก่มนั้นมีเฉพาะต่อสิ่งนั้นเท่านั้น” วัลลอฮุอะอฺลัม
ยังมีสิ่งที่มาสนุน –เช่นที่ท่านอิบนิกอยยิมกล่าวไว้-คือข้อห้ามแม้เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องอาหารซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ สิ่งอื่นที่ไม่จำเป็นเท่าย่อมต้องห้ามมากกว่า

ส่วนอาหารหรือสิ่งใด หากต้องซื้อขายโดยตวงหรือชั่ง การครอบครองก็คือการตวงหรือชั่ง (มา) เพราะมีฮะดีษบันทึกโดยท่านมุสลิม ไว้ในศ่อเฮี๊ยห์ จากรายงานของอะบูฮุรอยเราะห์ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดซื้ออาหารมา ก็อย่านำไปขายจนกว่าจะได้ตวง(มันมา)เสียก่อน” (10)

สินค้าที่ต้องชั่งก็มีความหมายเหมือสินค้าที่ต้องตวง แต่ที่ปรอดภัยคือผู้ซื้ออย่าได้นำไปขาย (ต่อ) จนกว่าจะนำสินค้ากลับไปยังที่พักของเขาเสียก่อน ด้วยตัวบทมากมายที่ปรากฏทั้งใน “ศ่อเฮี๊ยห์” ทั้งสอง (อัลบุคอรีและมุสลิม) และในบันทึกอื่นๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการห้ามของท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่าไม่ให้ขายอาหารจนกว่าจะได้ครอบครองโดยสมบูรณ์เสียก่อน และไม่ต้องสงสัยเลยว่า คำว่า “ครอบครอง” นั้นต้องเป็นการเคลื่อนย้ายหรือยึดถือเอามาครอบครองไว้ ไม่ใช่เพียงแค่การตวงหรือชั่งเท่านั้น
อัลลอฮ์ทรงรู้ดียิ่ง วะศ้อลลัลลอฮุ วะซัลลัม อะลานะบียินามุฮัมหมัด วะอะลาอาลิอี วะเศาะบิฮฺ

แหล่งที่มา;  เชค อับดุลอะซี้ซ อิบนุ บาซ (http://www.binbaz.org.sa/mat/3920)

  1. رواه مسلم في (البيوع)، باب (بطلان بيع المبيع قبل القبض)، برقم: 1528.
  2. رواه البخاري في (البيوع)، باب (بيع الطعام قبل أن يقبض)، برقم: 2135.
  3. رواه مسلم في (البيوع)، باب (بطلان بيع المبيع قبل القبض)، برقم: 1527.
  4. رواه أبو داود في (البيوع)، باب (في بيع الطعام قبل أن يستوفى)، برقم: 3494.
  5. رواه البخاري في (البيوع)، باب (من رأى إذا اشترى طعامًا جزافًا أن لا يبيعه)، برقم: 2137، ومسلم في (البيوع)، باب (بطلان بيع المبيع قبل القبض)، برقم: 1527.
  6. رواه أبو داود في (البيوع)، باب (في بيع الطعام قبل أن يستوفى)، برقم: 3499.
  7. رواه البيهقي في (البيوع)، باب (النهي عن بيع ما لم يقبض)، برقم: 10731.
  8. رواه البخاري في (البيوع)، باب (الكيل على البائع والمعطي)، برقم: 2126، ومسلم في (البيوع)، باب (بطلان بيع المبيع قبل القبض)، برقم: 1526.
  9. رواه مسلم في (البيوع)، باب (بطلان بيع المبيع قبل القبض)، برقم: 1528.
  10. سؤال مقدم إلى سماحته، فأجاب عنه عندما كان رئيسًا للجامعة الإسلامية بالمدينة. (مجموع فتاوى ومقالات الشيخ ابن باز 19/ 112).