หญิงท่านหนึ่งได้ครองเอียะฮ์รอมมาจากมีกอตเพื่อที่จะทำอุมเราะฮ์ และได้ทำการตั้งเงื่อนไขไว้ หลังจากนั้นนางเกิดมาประจำเดือน ดังนั้นนางจึงออกจากมักกะฮ์มา และไม่ได้ทำอุมเราะฮ์จนถึงตอนนี้ อะไรคือข้อตัดสินของนาง?

·

คำถาม  หญิงท่านหนึ่งได้ครองเอียะฮ์รอมมาจากมีกอตเพื่อที่จะทำอุมเราะฮ์ และได้ทำการตั้งเงื่อนไขไว้1 หลังจากนั้นนางเกิดมาประจำเดือน ดังนั้นนางจึงออกจากมักกะฮ์มา และไม่ได้ทำอุมเราะฮ์จนถึงตอนนี้ อะไรคือข้อตัดสินของนาง?

คำตอบ เชค ซอและห์ บินเฟาซานได้ตอบว่า : ข้อตัดสินคือ ให้นางกลับไปทำอุมเราะฮ์ได้เลย เพราะตอนนี้นางยังคงอยู่ในการครองเอียะฮ์รอมอยู่ ส่วนการมีประจำเดือนนั้นไม่ได้เป็นข้อห้าม(ในการครองเอียะฮ์รอม) โดยให้นางรออาจจะที่มักกะฮ์หากเป็นการสะดวก หรือมารอที่เมืองริยาฎ ในสภาพที่นางนั้นมีประจำเดือน และเป็นผู้ครองเอียะห์รอมอยู่ แล้วพอหมดประจำเดือนแล้ว ก็ให้นางเดินทางมาทำอุมเราะฮ์ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด และก็ไม่ได้มีความยากลำบากเลยในเรื่องนี้ เพราะปัจจุบัน อัลฮัมดุลิลละห์ ระยะทาง(ระหว่างเมือง)ต่างๆใกล้มากขึ้น หากเดินทางด้วยรถยนต์ ใช้เวลาแค่ประมาณแปดหรือเจ็ดชั่วโมง หรือโดยสารเครื่องบินก็ใช้เวลาแค่ประมาณชั่วโมงกับสิบนาที ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ต้องใช้เวลาเป็นเดือนจากริยาฎไปมักกะฮ์  แต่ปัจจุบีนนี้ อัลฮัมดุลิลละห์ แค่ไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งนางสามารถเลือกได้ว่าจะรออยู่ที่มักกะห์จนกว่าจะสะอาด แล้วก็ทำอุมเราะห์ต่อได้เลย แต่ถ้าหากเป็นการลำบาก หรือมีหน้าที่การงานที่ต้องสะสาง ก็ไม่ได้ห้ามให้นางกลับไปริยาฎ แต่นางนั้นจะต้องรักษาสภาพการครองเอียะฮ์รอมของนางไว้ และออกห่างจากข้อห้ามต่างๆในการครองเอียะฮ์รอม แล้วเมื่อนางนั้นสะอาดจากประจำเดือน ก็ให้กลับมาที่มักกะฮ์ และทำอุมเราะฮ์ได้เลย

แหล่งที่มา; https://www.alfawzan.af.org.sa/ar/node/3478

  1. คือการเหนียตครองเอียะฮ์รอมโดยตั้งเงื่อนไขว่า หากมีอุปสรรคมาขัดขวางแล้วไม่สามารถทำอุมเราะฮ์ต่อจนเสร็จสมบูรณ์ได้ ก็สามารถที่จะตะฮัลลุ้ล(ปลดเอียะฮ์รอม)โดยไม่ต้องเสียดัม โดยการกล่าวต่อจากคำเหนียตครองเอียะฮ์รอมว่า “อิน ฮะบะซะนี ฮาบิซ ฟะมะฮัลลี ฮัยซุฮะบัซตะนี”คือการเหนียตครองเอียะฮ์รอมโดยตั้งเงื่อนไขว่า หากมีอุปสรรคมาขัดขวางแล้วไม่สามารถทำอุมเราะฮ์ต่อจนเสร็จสมบูรณ์ได้ ก็สามารถที่จะตะฮัลลุ้ล(ปลดเอียะฮ์รอม)โดยไม่ต้องเสียดัม โดยการกล่าวต่อจากคำเหนียตครองเอียะฮ์รอมว่า “อิน ฮะบะซะนี ฮาบิซ ฟะมะฮัลลี ฮัยซุฮะบัซตะนี” ↩︎