คำถาม อะไรคือฮุก่มของการขอความช่วยเหลือจากคนตายโดยการกล่าวว่า : مدد يا فلان (ขอความช่วยเหลือจากคนคนนี้) , และอะไรคือฮุก่มของการขอความช่วยเหลือต่อผู้ที่ยังมีชีวิตโดยที่เขาไม่ได้อยู่ต่อหน้าผู้ที่วิงวอนขอ (หมายถึง อ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากคนหนึ่งที่มีชีวิต แต่คนคนนั้นไม่ได้อยู่ร่วมด้วย ไม่ได้รับรู้ด้วย – ผู้แปล) ?
คำตอบ : ประการแรก : การวอนขอความช่วยเหลือจากคนตายโดยกล่าวว่า : مدد يا فلان (ขอความช่วยเหลือจากคนคนนี้) , จำเป็นที่เขาจะต้องถูกเตือนและถูกชี้แนะว่าพฤติกรรมการกระทำเยี่ยงนี้เป็นสิ่งต้องห้าม และถ้าหากเขายังคงดื้อด้านกระทำเช่นนั้นเรื่อยไป (ทั้งที่ถูกเตือนถูกชี้แนะบอกกล่าวแล้ว) แน่นอนว่าเขาคนนั้นคือมุชริก (ผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์) คือกาฟิร (ผู้ปฏิเสธศรัทธา) ; เพราะเขาได้วิงวอนขอต่อสิ่งอื่นจากอัลลอฮ์ในเรื่องราวที่ไม่มีผู้ใดสามารถให้เขาได้นอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น และเท่ากับเขาได้ผินเอาสิทธิ์ที่คู่ควรแก่อัลลอฮ์ไปให้กับสิ่งถูกสร้าง (นำเอาสิทธิ์ที่เป็นของอัลลอฮ์ คือการถูกวิงวอนขอ ไปให้กับสิ่งถูกสร้างอื่นจากอัลลอฮ์ – ผู้แปล) ,
อัลลอฮ์ ตะอาลา ได้ตรัสว่า :
إِنَّهُ مَن يُشْرِكْ بِاللّهِ فَقَدْ حَرَّمَ اللّهُ عَلَيهِ الْجَنَّةَ وَمَأْوَاهُ النَّارُ
“แท้จริงผู้ใดให้มีภาคีแก่อัลลอฮฺ แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงให้สวรรค์เป็นที่ต้องห้ามแก่เขา และที่พำนักของเขานั้นคือนรก” (อัลกุรอ่าน 5:72)
ประการที่สอง : การวิงวอนขอความช่วยเหลือจากผู้ที่มีชีวิตอยู่ ซึ่งเขาไม่ได้อยู่ร่วมด้วย (ณ ขณะนั้น) คือสิ่งที่ไม่อนุญาต ; เพราะเท่ากับเขาได้วิงวอนขอต่อสิ่งอื่นจากอัลลอฮ์ โดยวอนขอจากคนนั้นในเรื่องที่ไม่มีใครสามารถให้ได้นอกจากอัลลอฮ์ เขาคนนั้น(ผู้วิงวอนของ) คือมุชริก (ผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์) ด้วยเช่นกัน , อัลลอฮ์ ตะอาลา ได้ตรัสว่า :
فَمَنْ كَانَ يَرْجُوا لِقَاءَ رَبِّهِ فَلْيَعْمَلْ عَمَلًا صَالِحًا وَلَا يُشْرِكْ بِعِبَادَةِ رَبِّهِ أَحَدًا
“ผู้ใดหวังที่จะพบพระผู้เป็นเจ้าของเขา ก็ให้เขาประกอบการงานที่ดี และอย่าตั้งผู้ใดเป็นภาคีในการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาเลย” (อัลกุรอ่าน 18:110)
การวิงวอนขอต่อผู้ที่มีชีวิตโดยที่เขาไม่ได้อยู่ร่วมด้วย ก็คือชนิดหนึ่งของการอิบาดะฮ์ (คือนับว่าเป็นการอิบาดะฮ์ต่อสิ่งอื่นจากอัลลอฮ์ ซึ่งเป็นเรื่องต้องห้าม – ผู้แปล) , ดังนั้นใครที่กระทำเช่นนี้ เขาจะถูกเตือน, และถ้ายังไม่น้อมรับคำเตือน ถือว่าเขาเป็นมุชริก (ผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์) ซึ่งทำให้หลุดออกจากอัลอิสลาม.
แหล่งที่มา; ฟะตาวา อัลลัจนะฮ์ อัดดาอิมะฮ์ เล่ม 1 หน้า 137 (คำถามเลขที่ 4259)